กลยุทธ์การเลียนแบบ

หลักแห่งความสำเร็จอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจเครือข่ายคือ การเลียนแบบผู้ประสบความสำเร็จ แล้วถ่ายทอดมันต่อให้กับลูกทีมต่อไป แต่คนแต่ละคนย่อมไม่มีใครเหมือนกัน การนำเอาข้อดี หลักคิด วิธีการที่ประสบความสำเร็จมา ประยุกต์ให้เข้ากับตัวเอง ย่อมเกิดผลได้ดี ดีกว่าการคิดค้นหาหนทางเอง ทั้งที่มีผู้นำทางมาเรียบร้อยแล้ว

images

จากบทความ FB:พันโทอานันท์ ชินบุตร ชีวิตเปี่ยมพลัง ได้กล่าวถึงการเลียนแบบไว้ว่า  “ในวิชา NLP มีคำว่า ถอดแบบ (modeling) มีคนถามว่า ต่างจากเลียนแบบ และก็อปปี้ อย่างไร การถอดแบบ ทำด้วยหลักวิชา ถอดโครงสร้างความเชื่อ ระบบโครงสร้างความคิด แล้วผลิตอีกสิ่งหนึ่ง (มีจริยธรรม) เช่น คนหนึ่งเรียนดี ก็สังเกตหรือถามว่า เขาคิดอย่างไร ปฏิบัติอย่างไร แล้วทำบ้าง แล้วเอ่ยถึงเขา ระลึกคุณเขา


เลียนแบบ คือการทำคล้าย เช่น รถปิกอัพ มีลักษณะคล้ายกันโดยรวม แต่องค์ประกอบเครื่องยนต์ วัสดุ ต่างกัน (พอจะมีวัฒนธรรม)


ก็อปปี้/ลอกแบบ คือเอาของเขามาหมดหรือเกือบหมด แล้วบอกว่าเป็นของเรา เช่น เอาชื่อ เอาคำพูด เอาวิธีการขั้นตอนทั้งหมดของเขามา แล้วทำเป็นเฉยว่าเป็นของเรา หรือความคิดเรา (ไม่มีวัฒนธรรม)

ผู้ที่ทำข้อหลังสุด แม้จะมีการศึกษา ก็ถือว่า ไร้การศึกษาและขาดมารยาท ข้อกลาง พอจะมีมารยาท ข้อแรก มีอารยธรรม การกระทำเหล่านี้บ่งบอกที่มาที่ไป และระบบความคิด จะมีผลต่อชีวิตระยะยาวของตนและคนที่อยู่รอบข้าง ต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ โดยเฉพาะผู้ที่กำลังเป็นต้นแบบในสังคม”

ระดับการเลียนแบบ เอาอย่าง ทำตาม ระดับไหนที่จะเรียกว่าเหมาะสม เชื่อแน่ว่าอัพไลน์ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักต้องการให้ลูกทีมเลียนแบบตัวเองได้ 100 % แต่ปัญหาคือลูกทีมหลายคนก็มีสมอง มีความคิด ชอบค้นหาทางของตัวเองไปเรื่อย บางครั้งก็ทำได้ดีกว่า บางครั้งก็ทำได้แย่กว่า บางคนก็มัวแต่คิดจนไม่ได้ทำอะไร

คุณครูหลายคนที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจเครือข่าย ส่วนหนึ่งก็เพราะทักษะการถ่ายทอด จิตวิญญาณของความเป็นครู ที่ทำให้สามารถ copy และ paste ได้อย่างมีคุณภาพ

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม