เหตุใดนักเรียนเกรด A ทำงานให้เกรด C

เหตุใดนักเรียนเกรด A จึงทำงานให้นักเรียนเกรด C

ที่มาบทความ>>+FB:พันโทอานันท์ ชินบุตร ชีวิตเปี่ยมพลัง

grade


ไม่นานมานี้ผมได้ซื้อหนังสือเล่มล่าสุดของ โรเบิร์ต คิโยซากิ ผู้เขียน Rich Dad, Poor Dad หรือใน ภาษาไทยว่า พ่อรวยสอนลูก มาอ่าน แล้วสัญญากับท่านว่าจะสรุปให้ฟัง วันนี้อ่านเสร็จแล้ว และจะพยายามสรุปให้ได้ในบทความสั้นๆ เพื่อที่ท่านจะได้เตรียมตัวไปหาซื้ออ่านกันในภาคภาษาไทย ซึ่งผมคิดว่ากลุ่มเดิมที่ผลิตหนังสือชุดนี้ คงจะรีบเร่งดำเนินการแล้วครับ

ถ้าใครอ่านหนังสือเล่มแรกแล้ว ก็แทบจะสรุปได้ทั้งหมด ส่วนที่เหลือคือการขยายความต่อมาแล้วเน้นในคอนเซ็ปต์เดิม ก็คือ พ่อจนสอนว่า “ตั้งใจเรียน เพื่อที่จะได้มีงานดีๆทำ” และพ่อรวยสอนว่า “ตั้งใจเรียน จะได้สร้างธุรกิจดีๆขึ้นมา” อะไรทำนองนี้ และนี่คือระบบความคิด (Mindset) ที่ต่างกันระหว่าง พ่อรวยซึ่งเป็นพ่อของเพื่อน กับ พ่อจนซึ่งเป็นพ่อแท้ๆของเขา

หนังสือเล่มนี้เจาะจงจะให้พ่อแม่หาเวลาสอนลูกของตัวเองเกี่ยวกับการเงินด้วยวิธีง่ายๆ เริ่มจากเกมเช่น เกมเศรษฐี ส่วนเขาได้ทำเกม Cashflow ขึ้นมา 2 เวอร์ชั่น

นักเรียนหรือนักศึกษาเกรด A มักจะจบมาเป็นลูกจ้างของบริษัทดีๆ โตขึ้นได้เป็นซีอีโอเงินเดือนสูงๆ แต่ไม่มีจิตใจเป็นเจ้าของกิจการจริงๆ โรเบิร์ตเรียกพวกนี้ว่า managerial capitalist ซึ่งหมายถึง นักทุนนิยมแบบนักบริหาร ซึ่งไม่ได้มีจิตวิญญาณเป็นนักธุรกิจที่แท้จริง เขาวิจารณ์แม้กระทั่ง แจ็ค เวลช์ (Jack Welch) ผู้บริหาร จีอี ที่โด่งดัง แต่พบภายหลังว่าเอาเงินของบริษัทมามากมาย

นักเรียนเกรด B หมายถึง นักเรียนที่เรียนเก่งระดับเกรด A และ B แต่มาทำงานให้กับหน่วยงานรัฐบาล(Beurocrat) ซึ่งก็มีลักษณะที่ไม่เป็นนักธุรกิจเช่นเดียวกัน ทั้ง 2 ประเภท กำลังสร้างปัญหาแก่ประเทศชาติสหรัฐ เพราะบริหารเงินและออกนโยบาย ซึ่งกำลังจะทำให้คนจนและคนชั้นกลาง ต้องเสียภาษีมากขึ้น แม้ว่าจะดึงภาษีจากคนรวยก็ตาม เพราะในที่สุดคนรวยก็จะปิดบริษัทหรือย้ายไปต่างประเทศ หรือมีวิธีลดภาษีได้ตามสิทธิที่รัฐบาลมอบให้ในเรื่องการลงทุนประเภทต่างๆ ชนชั้นกลางจะกลายเป็นชนชั้นคนจนในที่สุด

นักเรียน C หมายถึง Capitalist หรือนักลงทุนหรือเจ้าของกิจการจริงๆ ไม่ว่าจะเรียนเก่งหรือไม่ได้เรียน แต่ส่วนมาก โรเบิร์ต จะเน้นถึงคนเรียนไม่เก่งหรือไม่ได้เรียนมาก แต่เรียนเรื่องเกี่ยวกับการเงิน ซึ่งไม่ใช่แบบของที่เรียนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เพราะครูอาจารย์ที่สอนยังมีระบบความคิดแบบ A และ B ไม่มีประสบการณ์แบบ C

ถ้าดูใน 4 ควอแดรนท์ หรือสี่ด้าน ด้านซ้ายคือด้านที่โรงเรียนและมหาวิทยาลัยฝึกให้เป็น ส่วนคนรวมแบบมหาศาลต้องด้านขวาคือ มีกิจการของตนเองในแบบที่ตนไม่ต้องทำเอง และการลงทุน ซึ่งส่วนตัวของเขาเน้นเรื่องอสังหาริมทรัพย์

เขาแบ่งรายได้เป็น 3 ประเภทคือ
1) หามา จะด้วยค่าจ้างหรือเงินเดือนก็แล้วแต่
2) กำไรส่วนต่าง จากการฝากเงินธนาคาร จากการขายสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือแม้กระทั่งจากหุ้นหรือบอนด์
3) เงินที่ไหลเข้ากระเป๋า ที่เขาเรียกว่า passive income หรือ cash flow

เขาอยากให้พ่อแม่สอนลูกถึงวิธีการหาเงินทั้ง 3 แบบนี้ และให้รู้ว่า แบบที่ 3 แม้จะเสี่ยง ก็จะทำให้เกิดรายได้สูงสุด และจะมีอิสระซึ่งจะทำงานหรือไม่ทำงานก็ได้ เพราะเที่ยวๆหรือหลับๆ เงินก็ยังไหลเข้ากระเป๋า

เขาสอนให้รู้ว่า หนี้ มี 2 อย่างคือ หนี้ดี ทำเงินให้ และหนี้เสีย คือเสียเงินไป หนี้ดีคือการกู้เงินแบ๊งค์มาลงทุนหรือจากนักลงทุนอื่นๆ แต่เมื่อกู้แล้วเงินก้อนนั้นจะสร้างกำไรให้ จะซื้อของสิ่งใดก็ซื้อจากเงินที่เป็นกำไรที่ได้เหล่านี้ เช่น หาซื้อทรัพย์สินที่สร้างเงินให้ซื้อรถหรูได้ เป็นต้น แต่ก็ต้องเรียนรู้เรื่อง Emotional Intelligence คือความฉลาดเชิงอารมณ์ เพราะต้องเรียนรู้ที่จะต้องรอบ้าง ไม่นำเงินก้อนไปซื้อสิ่งของที่อยากได้ แต่ให้เอาไปลงทุน

เขาบอกว่ายังคงสนับสนุนให้ทำงาน MLM หรือ ประกัน กับบริษัทดีๆเพื่อที่จะได้เรียนรู้ การขาย การรับมือการปฏิเสธ การสร้างภาวะผู้นำ แต่ปรัชญาแท้ของเขาก็คือ หากยังไม่มีอิสระด้านเวลาแท้จริง หรือนอนอยู่เฉยๆเงินก็ไหลเข้ากระเป๋า ตราบนั้นก็ยังเป็น S หรือ ธุรกิจที่ต้องทำด้วยตัวเองอยู่ดี นั่นหมายความว่า หากคุณไม่ทำงานหรือนำคนไปประชุมหรือไม่เข้าประชุม แล้วถูกบริษัทปฏิเสธการจ่ายเงินหรือรักษาตำแหน่งของคุณไว้ นั่นก็ยังคงเป็น S เหมือนเดิม ไม่ว่าคุณจะได้รับเงินกี่ล้านบาทต่อครั้งก็ตาม นั่นไม่ใช่งานประเภท B

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น E ที่เป็นลูกจ้าง หรือ S ก็สามารถสร้าง B และทำการลงทุน I ไปได้พร้อมๆกัน เพื่อที่จะมีอิสระด้านเวลาและด้านการเงินอย่างแท้จริง ดังนั้น การเรียนภาษาการเงิน การเรียนรู้ด้านการเงิน จึงจำเป็นสำหรับลูกๆที่เราจะต้องเตรียมไว้ให้พวกเขา แต่การเรียนเรื่องการเงินและการเตรียมตัว ให้เตรียมว่าจะเป็น E S B หรือ I ถ้าอยากเป็นอะไร ก็เรียนด้านนั้น

ด้วยประสบการณ์จริง การเรียน MBA ไม่ได้สร้างนักธุรกิจจริงๆ แต่สร้างคนให้ไปเป็นลูกจ้างในธุรกิจ แม้จะมีตำแหน่งสูงมากก็ยังคงเป็นลูกจ้าง ซึ่งเขาพูดว่า คนเหล่านี้กำลังทำให้เศรษฐกิจของโลกย่ำแย่

การจบปริญญาเอกด้าน B อาจหมายถึง การนำบริษัทเข้าเป็นมหาชน อย่าง สตีฟ จ็อบส์ รับเงินเดือนเพียง 1 ดอลลาร์ แต่เป็นเจ้าของหุ้นที่มีกำไรมหาศาล เป็นต้น

ทั้งหมดนี้ คือหัวใจของหนังสือเล่มนี้ และรายละเอียดอื่นๆจะพูดถึงภาษีประเภทต่างๆ ข้อด้อย ข้อได้เปรียบ ของการเรียนแบบต่างๆ ฉะนั้นขอให้คุณ หามาอ่านเองได้ เพื่อที่จะได้รายละเอียดที่ต้องการมากขึ้น สำหรับผมแล้ว เท่านี้ก็เพียงพอสำหรับการคิดว่า คุณจะเป็น B และ I กันได้หรือยัง สำหรับผมเอง ก็อยู่บนเส้นทางนี้ และมีหุ้นส่วนเป็นจักรวาล “จักรวาลมาร์เก็ตติ้ง” (โปรดอ่านหนังสือที่ชื่อเดียวกันนี้ มีขายในท้องตลาดครับ)

grade


+FB:พันโทอานันท์ ชินบุตร ชีวิตเปี่ยมพลัง
Fanpage: Powerful Life




 

 
 
17-08-2013 8-09-02 AM
 
17-08-2013 8-10-00 AM
 
942645_196040163891724_1231107198_n
 
17-08-2013 8-22-21 AM

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม